เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่แพง วัดโพธิ์ร้อยต้น ปี๒๔๙๒
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
อ๊อฟด่านใต้ พระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
Aofdantai | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเหรียญปั๊ม | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่แพง วัดโพธิ์ร้อยต้น ปี๒๔๙๒ |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
ประวัติโดยย่อ ของท่านพระครูอุปการโพธิกิจ ( หลวงปู่แพง ) วัดโพธิ์ร้อยต้น ต. โพธิ์ทอง อ. โพนทอง จ. ร้อยเอ็ด พระครูอุปการโพธิกิจ ชาตะอยู่ในระหว่างรัชกาลที่๕ นามเดิมชื่อว่า แพง นามสกุล ศรีชัยณะรงค์ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๓๙ จุลศักราช ๑๒๕๘ ณ บ้าน หนองบัวทอง ตำบล จุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ท่านพระครูอุปการโพธิกิจ พออายุอย่างเข้า ๑๕ ปี จึงได้ออกบรรพชาเป็นสามเณรในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๕๓ ตามคำบงการของพระครูโสภาวินัยธร เจ้าอาวาสวัดบ้านบันไดใหญ่ผู้เป็นลุง เมื่อบวชแล้ว ยาครูคำ บ้านโพนทองน้อยเป็นผู้บวชให้ แต่หาได้ส่งตัวท่านไปยังสำนักของคูณลุงไม่ ทั้งนี้เพราะท่านเห็นว่า สามเณรผู้นี้ เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดมีไหวพริบปฏิภาณดี ดังท่านจะได้เห็นผลงานที่ท่านได้ทำดังนี้ บวชได้หนึ่งพรรษาเรียนสวดมนต์เจ็ดตำนานจบ แถมยังรู้หนังสือธรรม อ่านออกเขียนได้และเทศน์ได้ด้วย พรรษาที่สอง เรียนสวดมนต์สิบสองตำนานจบ ทั้งหนังสือไทยก็รู้ อ่านออกเขียนได้ พรรษาที่สามเรียนปาฏิโมกข์จบ พรรษาที่สี่ ท่องสูตรมูลกัจจายนสูตรจบ ทั้งได้เป็นครูสอนหนังสือไทยให้แก่สามเณรและเด็ก ๆ ภายในวัดด้วย ในพรรษาที่ห้า ได้ย้ายจากวัดโพนทองไปเรียนคัมภีร์มูลกัจจายนสูตรในสำนักของพระยาครูคำมี เจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ และสำนักของอาจารย์ครูลี และอาจารย์แก้ว วัดบ้านสว่าง อำเภอโพนทอง แล้วกลับมาบ้านเดิม ในระหว่างนี้ทั้งเรียนทั้งสร้างกุฏีและหัดแกะสลักลวดลายต่าง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ อายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยมีพระครูบุดดาเป็นอุปัชฌาย์ (ภายหลังต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูศาสนกิจพิสุทธิ์ ) เจ้าคณะอำเภอโพนทอง ท่านยาครูหล้า บ้านอุ่มเม้า เป็นกรรมวาจารย์ ท่านยาครูคำ บ้านโพนทอง เป็นอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า เจตสโร ภิกขุ เมื่ออุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ได้ไปเรียนคัมภีร์มูลกัจจยานสูตรต่อที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่จังหวัดมหาสารคามบ้าง ที่ขอนแก่นบ้าง จากท่านผู้ทรงคุณวุฒิในทางกัจจายนะเอกและบาลีแห่งจังหวัดนั้น ๆ เมื่อหลวงปู่มีอายุได้ ๒๕ ปีแล้วจึงพร้อมด้วยพระสหจร ๔ รูป ได้เดินทางไปหาพระยาครูศรีทัต แห่งอำเภอท่าอุเทน พอไปถึงท่าอุเทนแล้ว ได้ทราบข่าวว่าท่านขึ้นไปเวียงจันทร์ จึงได้พร้อมใจกันตามขึ้นไปเวียงจันทร์ พอไปถึงเวียงจันทร์ ก็ได้รับข่าวว่า ท่านเดินทางไปเมืองตุลาคม และก็ได้ตามไปเมืองตุลาคมอีก ในที่สุดก็พบท่าน ณ ที่นั้น แต่ตอนที่พบท่านนี้ท่านได้ลาสิกขาบทจากสมณเพศแล้ว และได้มีครอบครัวแล้วด้วย จะอย่างไรก็ตามหลวงปู่ก็ได้ขอศึกษาธรรมบางประการจากท่าน ท่านได้แนะแนวทางปฏิบัติให้ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามหลักแห่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค แม้ท่านพระครูสิงห์และอาจารย์ทองอุ่น ท่านก็แนะนำให้ปฏิบัติไปตามหลัก แห่งวิสุทธิมรรคเช่นกัน เมื่อได้พักอยู่ตุลาคมได้ชมภูมิประเทศอันสวยงามของเมืองนั้นพอสมควรแล้ว จึงได้อำลาท่านอาจารย์ศรีทัต มุ่งหน้าสู่นครหลวงพระบาง ซึ่งเป็นนครหลวงอันเก่าแก่นครหนึ่ง แห่งราชอาณาจักรลาว และเป็นราชธานีที่ประทับอยู่ของเจ้ามหาชีวิตด้วย การที่หลวงปู่ได้เดินทางไปหลวงพระบางครั้งนั้น ฟังว่าลำบากยากเย็นที่สุด ทั้งนี้เพราะการคมนาคมในสมัยนั้นทุรกันดารมากที่สุด ยวดยานพาหนะก็ไม่มีเหมือนสมัยนี้ ต้องเดินทางด้วยเท้าเปล่าทั้งนั้น ขึ้นเขา สูง ๆ ต่ำ ๆ ขยุกขยิก ข้ามห้วยและแม่น้ำลำธาร บุกป่าฝ่าดงอันแสนจะรำเค็ญ และเต็มไปด้วยภยันตรายนานาประการ เช่น สิงห์สาราสัตว์นานาชนิด มีทั้งสัตว์กินคน และสัตว์ที่คนกินมัน ถ้าพลาดท่าเสียทีก็ตกเป็นเหยื่อของมันแน่ ๆ พูดถึงผลไม้ก็มีมากมายหลายชนิด มีอยู่ทั่วไปตามเชิงเขา และป่าทึบ คล้าย ๆ กับว่ามีคนปลูกไว้ฉะนั้น แต่ความจริงนานาผลไม้เหล่านี้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หามีผู้ใดผู้หนึ่งไปปลูกไว้ไม่ พวกหลวงปู่ได้เดินทางร่อนเร่ไปหลายวันหลายคืน จึงถึงนครหลวงพระบางในวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ และได้พักอยู่วัดป่าฝางเป็นเวลา ๑๕ วัน ในระหว่างที่พักอยู่ในเมืองนี้ หลวงปู่ได้เที่ยวชมภูมิประเทศของนครนั้น มีลักษณะดังนี้ นครหลวงพระบางนั้นตั้งอยู่บนภูเขา แม้พระราชวังของเจ้ามหาชีวิต ก็สูง ๆ ต่ำ ๆ ตามลักษณะแห่งภูเขานั่นเอง อนึ่งตัวเมืองนั้นยาวไปตามลำน้ำโขง แม้ตลาดลาดลีก็ยาวไปตามลำโขงเช่นกัน ประชากรมีลาวพวน เป็นส่วนมาก นอกจากนี้มีพวกแม้ว ข่า และทั้งชาติอื่น ๆ อีกเล็ก ๆ น้อย ๆ ประชาชนส่วนมากนับถือพุทธศาสนาตามองค์พระประมุข เมื่อได้ชมพูมิประเทศของนครหลวงพระบางพอสมควรแล้ว หลวงปู่จึงได้กราบนมัสการเจ้าอาวาสเดินทางต่อ การเดินทางครั้งนี้ก็ลำบากเหมือนคราวที่ออกจากตุลาคมมายังหลวงพระบาง คือต้องขึ้นเขาลงห้วย และเดินทางข้ามภูฝอยอันสูงลิ่ว สูงลอยเหนือก้อนเมฆขึ้นไปอีก จนก้อนเมฆนั้นลอยผ่านขาหลวงปู่ไป แม้อย่างนั้นพวกหลวงปู่ก็มิได้ย่อท้อ พยามปีนป่ายลงสู่พื้นดิน และใช้เวลาเดินถึง ๑๕ วัน จึงมาพบบ้าน ๆ หนึ่งชื่อว่าบ้านหาดเต้อ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง และได้พักผ่อนอิริยาบถอยู่ที่นั่น ๓ วัน ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าต่อจากนี้ไม่มีทางเดิน แต่เมื่อจะไปก็ต้องปีนหน้าผาอันสูงตระหง่าน และต้องใช้เวลาเดิน ๕ – ๖ ชั่วโมงจึงจะผ่านพ้นไป ต่อไปข้างหน้าพวกท่านจะได้พบผาน้ำพุอีก และในผานี้มีปีศาจร้ายด้วย พวกท่านเดินทางตลอดวันยันค่ำจึงจะพ้นผานี้ไปและจะพักกลางทางไม่ได้ พวกท่านจะลำบากมากอย่าได้ไปเลย พวกหลวงปู่ไม่ได้ฟังเสียงชาวบ้านนั้นห้าม แล้วพวกหลวงปู่ก็ได้ขึ้นปีนป่ายหน้าผาอันสูงชันนั้น โดยไต่ไปคลานไปเกาะตามเถาวัลย์ ถ้าพลาดท่าตกลงไปในเหวลึกต้องตายแน่ ๆ การเดินทางปีนป่ายไปกินเวลา ๖ ชั่วโมง จึงข้ามพ้นไปได้ ต่อแต่นี้ไปก็มาถึงผาน้ำพุ เป็นทางราบมีหาดทรายมีน้ำพุเป็นตอน ๆ ไป ระยะนี้ใช้เวลาเดิน ๑๒ ชั่วโมง พวกหลวงปู่อ่อนแรงหมดกำลังเดินต่อไปไม่ไหว จึงพากันพักนอนเล่นอยู่ เวลานั้นหมดแสงตะวันลงแล้ว ทันใดนั้นสายตาของพวกหลวงปู่ได้เหลือบไปเห็นสตรีสาวสวย ๒ คน แต่งตัวสวยหรูหราในมือถือกระเช้าใบเล็ก ๆ คล้าย ๆ จะไปเที่ยวงานบุญอะไรสักอย่างหนึ่ง และทั้งสองคนก็ได้เดินตามหลังพวกหลวงปู่มา พวกหลวงปู่ดีใจนึกว่าจะได้มีคนนำทางให้จึงถามว่า จะไปไหนและมาจากไหน สตรีทั้งสองมิได้พูดว่ากระไร ได้แต่เดินผ่านไป พวกหลวงปู่ก็เข้าใจว่าเป็นมนุษย์จริง ๆ จึงได้เดินตามหลังเขาไป พอไปถึงพลาญหินปากถ้ำ สตรีทั้งสองนั้นก็หายวับเข้าไปในปากถ้ำ พวกหลวงปู่จึงนึกขึ้นได้ว่า นี่ ! ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาเสียแล้ว จึงนึกในใจว่า อาจมีภัยร้าย ! จึงพากันหวนกลับมายังน้ำพุอีก จึงได้ตั้งต้นเดินไปใหม่ ในคืนวันนั้นพวกหลวงปู่ได้เดินทางตลอดคืน พอแจ้งสว่างจึงได้ถึงกระท่อมของพวกชาว และพักฉันอาหารเช้ากับพวกเขาเหล่านั้น ได้พักอยู่ที่นั้นสองวันจึงเดินทางต่อ อนึ่งในระหว่างที่พักแรมอยู่กับพวกชาวไร่นั้น เขาได้ถามว่าพวกท่านได้เดินทางมาถึงนี้ได้พักแรมที่ไหนบ้าง เราตอบเขาว่าไม่ได้พักแรมที่ไหนเลย และได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้พวกเขาฟัง พวกเขาได้ชี้บอกทางที่จะขึ้นไปบนภูรั่งภูไร่ ภูเขาทั้งสองลูกนี้ก็ใหญ่มิใช่เล่น เดินวันยันค่ำจึงพ้นไป จึงไปถึงเมือง ๆ หนึ่งชื่อว่าเมืองห่าน และพักอยู่กับท่านหลักคำเมืองนี้ ๑๐ วัน อนึ่ง คนเมืองนี้มีผิวกายสีแดงเหมือนกันหมด ทั้งหญิงทั้งชาย แม้แต่เด็ก ๆ ก็มีผิวกายเช่นนี้ทั้งนั้น พวกหลวงปู่เห็นเป็นของแปลกจึงได้เรียนถามท่านหลักคำว่า คนเมืองนี้แต่เดิมมาจากไหน หรือว่ามีถิ่นชาติกำเนิดอยู่เมืองนี้มาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ ท่านจึงได้ให้คำอธิบายว่า ชาวเมืองนี้เดิมทีเป็นคนเวียงจันทร์ เป็นเชื้อสายเจ้าอนุวงค์ เมื่อเวียงจันทร์ถูกข้าศึกรุกรานจนเวียงแตก เจ้าอนุวงค์ถูกจับเป็นเชลยศึก พวกชาวเมืองที่นี่เป็นลูกหลานเชื้อสายเจ้าอนุวงค์ สืบมาจนบัดนี้ อนึ่งเมืองนี้มีธรรมชาติแปลก ๆ อยู่อย่างหนึ่งคือ มีภูเขาไฟ เขาลูกนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเมือง กลางทุ่งนา มีเถ้าสีขาวเป็นกองสูงดุจภูเขา ชาวเมืองเลยเรียกว่าภูเขาขี้เถ้า และมีไฟไหม้อยู่ตลอดอนันตรกาลมาแล้วหลายล้านปี ถ้าเราเอาไม้ไปแทงขี้เถ้าเราจะเห็นไฟไหม้ติดไม้ออกมา อีกอย่างหนึ่งชาวเมืองนี้เลี้ยงช้างกันทุกครัวเรือน ถ้าบ้านใดไม่เลี้ยงช้าง ผีช้างจะมาทำร้ายเขา พวกเขาถือว่าเป็นเชื้อสายเจ้าล้านช้าง ถือช้างเป็นมิ่งขวัญของเขา เป็นประเพณีสืบมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ออกจากเมืองห่านเดินทางข้ามภูเขาไฟจึงถึงเมืองเงิน ออกจากเมืองนี้เดินทางต่อไปยังเมืองฮ่อ เดินทางข้ามภูเขาตลอดทั้งวันยันค่ำ พอถึงหลังเขาพบฮ่อฆ่ากันตาย ๓ ศพ พวกเราได้เดินทางเรื่อยไปจนข้ามเขาในคืนนั้น และที่เชิงเขานั้นมีบ้านข่าอยู่หลังหนึ่ง จึงขอพักแรมคืนกับพวกเขา ฉันอาหารเช้าเสร็จแล้ว พวกเขาบอกว่าต่อจากนี้ไปไม่มีทางเดิน พวกเขาแนะนำให้เข้าถ้ำเดินไปราว ๆ เที่ยงวันก็จะพ้นปากถ้ำแลเห็นแผ่นดิน และได้เดินทางไปถึงเมืองพอน เดินทางมาหลายวันจึงถึงเมืองห่าน เมืองแพร่ เมืองอุตตดิฐ และทุ่งย่างเมืองฝางตามลำดับ ในเมืองทุ่งย่างนั้นมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ๆ และมีโบราญวัตถุหลายอย่างน่าดูน่าชมมาก และพระองค์หนึ่งเคร่งครัดในธุดงค์บำเพ็ญสมถกัมมัฎฐานและวิปัสสนากัมมัฎฐาน อยู่ในวิเวก พวกหลวงปู่ได้พักอยู่กับท่านพอสมควรแล้ว จึงได้อำลาท่านกลับลงมาเมืองพิษณุโลก สุโขทัย และลพบุรี วังลี วังขาม ตามลำดับ และได้อยู่วัดพระศรีอารย์ แล้วกลับลงมาจำพรรษาอยู่วัดช้างเผือกกับท่านหลวงพ่อชุ่ม และหลวงพ่อมณตาก ในคราวจำพรรษาอยู่วัดนี้นั้น มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้นซึ่งหลวงปู่จะลืมเสียมิได้ คือท่านหลวงพ่อมณตากได้มาผูกเป็นบุตรของท่าน ท่านเป็นคนชาวบ้านส่วน มีสมบัติมากมายก่ายกอง มีเรือไฟเดินถึงสามลำ สละสมบัติและภรรยาออกบวชในบวรแห่งพระพุทธศาสนา ท่านไม่มีผู้ครองสมบัติพัสถานบ้านเรือนของท่าน ส่วนบ้านของท่านตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใหญ่โตมโหฬาร มีผลไม้นานาชนิด ท่านอ้อนวอนให้หลวงปู่ลาสิกขาบท ไปครองสมบัติของท่านแทนตัวท่าน และบอกว่าจะหาภรรยาที่สวย ๆ ให้ หลวงปู่ต้องการอย่างไรท่านยอมปฏิบัติทุกอย่าง ทั้งนี้ก็เพราะท่านได้แจ้งเจตน์จำนงค์ของท่านให้หลวงปู่ทราบว่า ท่านปรารถนาพุทธภูมิ แต่ก่อนท่านเป็นสัญชาติญวณเมืองเว้ และเป็นนักบวชมาอยู่ในประเทศไทย แล้วลาออกจากสมณเพศ เลยมาตั้งถิ่นฐานบ้านช่องอยู่ในไทย และภรรยาอยู่ในประเทศไทย ทั้งสองผัวเมียได้ก่อร่างสร้างตัวมาด้วยความพรากเพียร จนร่ำรวยขึ้นมาตามลำดับ จนอายุได้ ๖๖ ปี จึงได้อำลาภรรยาออกมาอุปสมบท จะไม่หวนกลับไปสู่ฆราวาสวิสัยอีก พอออกพรรษาแล้วท่านก็ขอร้องให้มาลาสิกขาบท ไปครองสมบัติท่านอีก แต่หลวงปู่ได้ขอขยายเวลาต่อไปว่า ขอให้ไปนมัสการเจดีย์ชวีดาทอง แห่งเมืองร่างกุ้งเสียก่อน เมื่อได้โอกาสหลวงปู่จึงเดินทางมาสู่กรุงเทพมหานคร ได้พำนักอยู่วัดสระเกศ ออกจากวัดนี้ไปอยู่จังหวัดมินบุรี(เดี๋ยวนี้เป็นอำเภอ) ได้พักอยู่วัดรามัญ ฝึกหัดสวดมนต์ไหว้พระด้วยสำเนียงรามัญ แล้วออกเดินทางไปเมืองร่างกุ้ง เพื่อนมัสการพระเจดีย์ชวีดาทอง (ธาตุถ้ำ) สามเดือนจึงถึงร่างกุ้ง อยู่ในร่างกุ้งต่อมาจนถึงเดือนหก จึงได้เดินทางมายังประเทศไทย ได้แวะเข้าไปยังจังหวัดตากอีก และได้แวะเข้าไปจำพรรษาอยู่ในป่าช้าบ้านทุ่งกระเซาะหนึ่งพรรษา จำอยู่ภูเขาหนอกวัวอีกหนึ่งพรรษา พอออกพรรษาแล้วได้เดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ และได้พักอยู่วัดสันป่าแปง แล้วลงมาเมืองนำปาด จำพรรษาอยู่ภูเขาปอน เมืองทุ่งเมืองวา ออกพรรษาแล้วจึงลงมาเมืองนิดกอย ด้วยการโดยสารเรือไฟฝรั่งเศส ล่องลงมาตามลำน้ำโขง จึงได้พักอยู่ในวัดจันทร์ ในเวียงจันทร์เป็นเวลา ๓ เดือน จึงกลับมาหนองคาย อุดร และกลับถึงบ้านโพนทองในพุทธศักราช ๒๔๖๙ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้ตั้งวัดขึ้นที่บ้านหนองใหญ่ มีกุฎี ศาลาการเปรียญ พร้อมทั้งเจดีย์อันสำคัญไว้ในวัด เพื่อบรรจุอัฐิของพระอริยะเจ้า ซึ่งได้มาเมื่อคราวเดินทางไปนมัสการเจดีย์ชวีดาทอง ณ กรุงร่างกุ้ง แห่งสาธารณรัฐประเทศพม่า และต่อจากนั้นมาและราว ๗ – ๘ ปี ได้ขอพระบรมราชานุญาติ สร้างพัทธสีมาขึ้นอีก ณ วัดโพธารามบ้านหนองใหญ่ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้ย้ายวัดโพนทองมาตั้งใหม่ เพราะวัดเก่าคับแคบมาก นอกจากนี้ท่านยังได้ช่วยเหลือบ้านนาทมสร้างวัดใหม่ โดยหลวงปู่เป็นผู้วางแผนผังวัดให้ และยังได้ช่วยพระเดชพระคุณท่านพระครูศาสนกิจพิสุทธิ์ ผู้ซึ่งเป็นอุปชฌาย์ของหลวงปู่ สร้างพัทธสีมาในอารามของท่านอีก นอกจากกิจการงานในพระพุทธศาสนาแล้ว ในทางโลกหลวงปู่ยังได้ช่วยเหลือคณะกรรมการอำเภอด้วย คือเป็นกรรมการจัดการตั้งโรงเรียนประชาบาล ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ของอำเภอนี้ และเป็นธรรมกถึกเทศน์ สั่งสอนกุลบุตรกุลธิดา ตามโรงเรียนต่าง ๆ ด้วย ได้เข้าประชุมร่วมคณะกรรมการอำเภอทุกสองเดือนต่อครั้ง ปฏิบัติอย่างนี้มาเป็นเวลา ๓ ปี จึงได้ลาออกจากหน้าที่นี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ สอบปริยัติธรรมนักธรรมชั้นตรี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปชฌาย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้แต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์อำเภอ ในตำแหน่งสาธารณูปการ และในปีนั้นได้ย้ายออกจากวัดโพธาราม บ้านหนองใหญ่ มาสร้างวัดโพธิ์ร้อยต้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้มาตั้งวัดธุดงค์คณรามขึ้นที่บ้านดงมัน และ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามตามพระราชทินนามว่า พระครูอุปการโพธิกิจ เจ้าอาวาสแห่งวัดโพธิ์ร้อยต้น ท่านพระครูอุปการโพธิกิจ ท่านได้ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่พรรษา ที่ ๕ – ๑๐ – ๒๐ ตลอดมาโดยลำดับ ดำเนินตามหลักแห่งคำภีร์วิสุทธิมรรคสามประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแบบแผนบูรพาจารย์ที่ได้ดำเนินมาแล้ว คือในชั้นแรกหัดเดินจงกรม สำรวมจิตใจให้เป็นเอกัคตารมย์ จนจิตเป็นสมาธิ ทำลมหายใจเข้าออกให้สม่ำเสมอ เข้าเตโชกสิณ (คำว่า กสิณ แปลว่าวัตถุอันจูงใจ คือจูงใจให้เข้าไปผูกในอารมณ์นั้น ๆ ) จุดดวงประทีปและดวงเทียนให้สว่าง แล้วเพ่งไปยังดวงประทีปหรือดวงเทียน จนแสงสว่างแห่งดวงประทีปและดวงเทียนติดตาอยู่ เกิดแสงสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน ฝึดหัดให้ติดตาอยู่นาน ๆ เมื่อชำนาญแล้วเพ่งจิตไปดูสวรรค์ชั้นพรหม ทั้งที่มีรูปเรียกว่า รูปพรหม และไม่มีรูปเรียกว่า อรูปพรหม จนจิตเกิดเบื่อหน่ายเกิดวิปลาสมนุษย์ หน่ายคนตาย สัตว์ตาย สัตว์เกิดกินกัน ฉันข้าวไม่ได้ และกายใจเป็นอื่นไป ปฏิบัติถอยกลับมาจึงพูดกับคนรู้เรื่อง เลยฉันข้าวได้ตามปกติ ถอยกลับมาพูดกับมนุษย์ ทำอย่างนี้อยู่สามปี จึงกลับใจ เรียบเรียงโดย พระมหาบุญมี กิตติวัณโน #หลวงปู่แพงวัดโพธิ์ร้อยต้น |
|||||||||||||||
ราคา
|
โชว์ | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0833809758 | |||||||||||||||
ID LINE
|
ค้นหาจากเบอร์ 0833809758 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
6,689 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 710-2-26461-7
|
|||||||||||||||
|